เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ SCI-TU

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
(เทคโนโลยีการเรียนรู้)

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจากประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

    จำนวนหน่วยกิต:

    • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต

      • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
      • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
      • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

    ค่าเล่าเรียน:

    • ภาคการศึกษาละ 22,300 บาท (เหมาจ่าย)

    สถานที่ศึกษา:

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

    ติดต่อหลักสูตร:

    หลักสูตรนี้ฉีกกรอบวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะที่สอดรับกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีทักษะพิเศษในการผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้าสู่การเรียนรู้และใช้ชีวิตของคนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเน้นการพัฒนาฝีมือการวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือระดับเดียวกับมืออาชีพ การฝึกออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ไอโอที, อุปกรณ์สวมใส่และระบบผสมผสาน ในวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

    คำอธิบายหลักสูตร

    หลักสูตรนี้ศึกษาที่ศูนย์ลำปาง นักศึกษาทุกคนที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้และมีผลการเรียนตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จะได้รับทุนค่าเล่าเรียนจากคุณบุญชู ตรีทอง ตลอดหลักสูตร โดยไม่ต้องใช้ทุน เนื่องจากท่านบุญชู ตรีทอง ต้องการสนับสนุนหลักสูตรอันมีเอกลักษณ์ซึ่งเน้นการเตรียมทักษะสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ควรมี เพื่อใช้ประกอบอาชีพทางไอทีในปัจจุบัน และรองรับอาชีพใหม่ที่จะคาดไม่ถึงในอนาคต ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้ฝึกฝนว่าทำอย่างไรเทคโนโลยีอัจฉริยะจึงจะเข้าถึงมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยการปฏิบัติจริงโดยฝึกวิธีคิดและการใช้เครื่องมือระดับเดียวกับมืออาชีพ

    ในช่วงแรกผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ปัญหา การอธิบายปัญหาด้วยภาษาสากล เรียนรู้โมเดลการแก้ปัญหาและฝึกการประยุกต์ใช้เครื่องมือและทรัพยากรการพัฒนาซอฟต์แวร์จนเกิดความคุ้นเคย หลักสูตรปูพื้นฐานให้เข้าใจธรรมชาติการทำงานของคอมพิวเตอร์ เทคนิคการใช้ภาษาโปรแกรม การออกแบบโครงสร้างเก็บข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา การพัฒนาระบบอัจฉริยะ การเชื่อมต่อเครือข่ายและรักษาความปลอดภัย ผู้เรียนจะเริ่มศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับมนุษย์ สมอง จิตวิทยาและความรู้สึกในการเรียนรู้ การทำงานกับข้อมูล การแสดงภาพข้อมูล และการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการประเมิน ในช่วงหลังผู้เรียนจะเข้าสู่วิชาเชิงประยุกต์และปฏิบัติที่เน้นการสร้างระบบจริง เป็นแอพพลิเคชันบนเว็บ ระบบสารสนเทศเชิงธุรกิจ ซึ่งในส่วนนี้ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาวิชาโทวิทยาการข้อมูล โดยเรียนเพิ่มอีกเพียงสองวิชา ขั้นตอนสุดท้าย ผู้เรียนจะต้องเลือกทำโปรเจ็กต์ หรือไปทำงานที่สถานประกอบการผ่านระบบปฏิบัติสหกิจเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งหากศึกษาตามแผนจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ในเวลา 3 ปีครึ่ง.

    งานทางไอทีนั้นจะทำจากที่ใดในโลกก็ได้ที่มีความพร้อม ความพิเศษของหลักสูตรนี้จึงอยู่ที่ การสร้างบัณฑิตให้มีทักษะเชิงปัจจัยมนุษย์ที่นำสมัย และทักษะเชิงระบบอัจฉริยะที่สามารถประกอบอาชีพทางไอทีหรือไปศึกษาต่อยอดกับศาสตร์ด้านใดก็ได้ ในบรรยากาศสถานที่เรียนที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติที่ศูนย์ลำปาง ในห้องเรียนที่ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศเพื่อคุณภาพการเรียนรู้แม้ในวิกฤติฝุ่น ธรรมชาติช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้ตลอดเวลา ในจังหวะที่ผ่อนคลาย และคือหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของหลักสูตรนี้

    การฝึกงานหรือสหกิจ

    นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

    การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

    สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ  
    • นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ 
    • นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ
    • นักทดสอบซอฟต์แวร์
    • นักออกแบบ UI/UX
    • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์
    • ผู้จัดการและผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์
    • ครู อาจารย์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกลุ่มวิชาวิทยาการการคำนวณ (Computing Science)
    พี่ทำงานปีที่สิบกว่า ๆ แล้ว ยิ่งนานวัน… ปัญหาที่ต้องเจอต้องแก้ไข ทำให้เรื่องที่อาจารย์เคยสอนมันย้อนกลับมาบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็นึกขอบคุณอาจารย์ที่ตั้งใจสอนพวกเราอย่างเต็มที่ในตอนนั้น ขอบคุณมากครับ

    หลักสูตรนี้ฉีกกรอบวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะที่สอดรับกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีทักษะพิเศษในการผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้าสู่การเรียนรู้และใช้ชีวิตของคนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเน้นการพัฒนาฝีมือการวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือระดับเดียวกับมืออาชีพ การฝึกออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ไอโอที, อุปกรณ์สวมใส่และระบบผสมผสาน ในวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

    คำอธิบายหลักสูตร

    หลักสูตรนี้ศึกษาที่ศูนย์ลำปาง นักศึกษาทุกคนที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้และมีผลการเรียนตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จะได้รับทุนค่าเล่าเรียนจากคุณบุญชู ตรีทอง ตลอดหลักสูตร โดยไม่ต้องใช้ทุน เนื่องจากท่านบุญชู ตรีทอง ต้องการสนับสนุนหลักสูตรอันมีเอกลักษณ์ซึ่งเน้นการเตรียมทักษะสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ควรมี เพื่อใช้ประกอบอาชีพทางไอทีในปัจจุบัน และรองรับอาชีพใหม่ที่จะคาดไม่ถึงในอนาคต ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้ฝึกฝนว่าทำอย่างไรเทคโนโลยีอัจฉริยะจึงจะเข้าถึงมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยการปฏิบัติจริงโดยฝึกวิธีคิดและการใช้เครื่องมือระดับเดียวกับมืออาชีพ

    ในช่วงแรกผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ปัญหา การอธิบายปัญหาด้วยภาษาสากล เรียนรู้โมเดลการแก้ปัญหาและฝึกการประยุกต์ใช้เครื่องมือและทรัพยากรการพัฒนาซอฟต์แวร์จนเกิดความคุ้นเคย หลักสูตรปูพื้นฐานให้เข้าใจธรรมชาติการทำงานของคอมพิวเตอร์ เทคนิคการใช้ภาษาโปรแกรม การออกแบบโครงสร้างเก็บข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา การพัฒนาระบบอัจฉริยะ การเชื่อมต่อเครือข่ายและรักษาความปลอดภัย ผู้เรียนจะเริ่มศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับมนุษย์ สมอง จิตวิทยาและความรู้สึกในการเรียนรู้ การทำงานกับข้อมูล การแสดงภาพข้อมูล และการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการประเมิน ในช่วงหลังผู้เรียนจะเข้าสู่วิชาเชิงประยุกต์และปฏิบัติที่เน้นการสร้างระบบจริง เป็นแอพพลิเคชันบนเว็บ ระบบสารสนเทศเชิงธุรกิจ ซึ่งในส่วนนี้ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาวิชาโทวิทยาการข้อมูล โดยเรียนเพิ่มอีกเพียงสองวิชา ขั้นตอนสุดท้าย ผู้เรียนจะต้องเลือกทำโปรเจ็กต์ หรือไปทำงานที่สถานประกอบการผ่านระบบปฏิบัติสหกิจเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งหากศึกษาตามแผนจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ในเวลา 3 ปีครึ่ง.

    งานทางไอทีนั้นจะทำจากที่ใดในโลกก็ได้ที่มีความพร้อม ความพิเศษของหลักสูตรนี้จึงอยู่ที่ การสร้างบัณฑิตให้มีทักษะเชิงปัจจัยมนุษย์ที่นำสมัย และทักษะเชิงระบบอัจฉริยะที่สามารถประกอบอาชีพทางไอทีหรือไปศึกษาต่อยอดกับศาสตร์ด้านใดก็ได้ ในบรรยากาศสถานที่เรียนที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติที่ศูนย์ลำปาง ในห้องเรียนที่ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศเพื่อคุณภาพการเรียนรู้แม้ในวิกฤติฝุ่น ธรรมชาติช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้ตลอดเวลา ในจังหวะที่ผ่อนคลาย และคือหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของหลักสูตรนี้

    การฝึกงานหรือสหกิจ

    นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

    การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

    สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ  
    • นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ 
    • นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ
    • นักทดสอบซอฟต์แวร์
    • นักออกแบบ UI/UX
    • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์
    • ผู้จัดการและผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์
    • ครู อาจารย์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกลุ่มวิชาวิทยาการการคำนวณ (Computing Science)
    พี่ทำงานปีที่สิบกว่า ๆ แล้ว ยิ่งนานวัน… ปัญหาที่ต้องเจอต้องแก้ไข ทำให้เรื่องที่อาจารย์เคยสอนมันย้อนกลับมาบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็นึกขอบคุณอาจารย์ที่ตั้งใจสอนพวกเราอย่างเต็มที่ในตอนนั้น ขอบคุณมากครับ

    ภาษาไทย ภาคปกติ
    ระยะเวลา: 4 ปี
    จำนวนรับเข้า: 40 คน

    คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจากประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
    • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

      จำนวนหน่วยกิต:

      • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต

        • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
        • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
        • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

      ค่าเล่าเรียน:

      • ภาคการศึกษาละ 22,300 บาท (เหมาจ่าย)

      สถานที่ศึกษา:

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

      ติดต่อหลักสูตร: