Change Language: ภาษาไทย
เรียนที่ SCI-TU
สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1
(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา และได้เกียรตินิยม หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตามที่ระบุในหลักสูตรของแต่ละสถาบันไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือ
(2) ถ้ามีคะแนนเฉลี่ยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อ 1 ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าโครงการวิจัย หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์ในกรณีที่มีผู้สมัครประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
จำนวนหน่วยกิต:
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1
จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต แบ่งเป็น
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต แบ่งเป็น
วิชาหลัก 12 หน่วยกิต
วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 15 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
- 20,500 บาท / ภาคการศึกษา
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ เป็นโครงการแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประวัติยาวนานมากกว่า 10 ปี มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และความสามารถในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการจัดการธุรกิจ เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมการจัดการองค์กรและสังคม รวมถึงเป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมการใช้ระบบสารสนเทศ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยและเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เข้มแข็งแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
ในระหว่างการศึกษา นักศึกษาจะได้รับคำปรึกษาในการเรียนและการทำวิจัยอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยในบางหัวข้องานวิจัยอาจมีการร่วมงานกับชุมชนและภาคอุตสาหกรรม นักศึกษาในหลักสูตรทุกคนจะได้รับทุนสนับสนุนให้ไปนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการภายในประเทศหรือต่างประเทศ นักศึกษาที่มีศักยภาพอาจได้โอกาสในการทำวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศ
ในการสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะต้องมีผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 1 ชิ้น ที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ หรือตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) และได้ศึกษาหรือผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามที่กำหนด
หัวข้องานวิจัย
- เทคโนโลยีการผลิตพืชและการจัดการเกษตรอินทรีย์
- มาตรฐานและข้อกำหนดการผลิตพืช
- ธาตุอาหาร และการปรับปรุงบำรุงดิน
- อารักขาพืช
- เทคโนโลยีชีวภาพ
- การพัฒนาชีวผลิตภัณฑ์
- การตลาดและการจัดการธุรกิจเกษตรอินทรีย์
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- เกษตรกรและ/หรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ปราดเปรื่อง
- นักวิชาการเกษตร หรือส่งเสริมการเกษตร
- นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ทั้งในภาครัฐและเอกชน
- พนักงานบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจทางด้านการเกษตรอินทรีย์
- นักพัฒนาและผู้ประสานงานท้องถิ่น
- อาชีพอิสระ
โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ